มะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งอันดับ5 ของมะเร็งที่พบทั่วโลก มักจะเป็นในวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 45 ปีจนไปถึงวัยสูงอายุ โดยประมาณร้อยละ 50 เป็นมะเร็งตรงบริเวณท้ายกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเป็นแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน ประมาณร้อยละ 5 ผูุ้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารจึงควรรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายโดยเร็ว อย่าปล่อยใ้ห้เนิ่นนานไป ไม่เช่นนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกระเพาะได้

 

อาการเริ่มแรก จะมีอาการคล้ายกับเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้แก่ ท้องอืดเพราะมีกรดเกลือหลั่งออกมาน้อย อาหารไม่ย่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณท้องส่วนบน แต่บางคนที่เป็นแผลกระเพาะมาก่อนจะเป็นมะเร็งนั้นมักมีกรดเกลือสูงกว่าปกติ ทำให้ปวดท้อง เมื่อใช้ยาลดกรดก็บรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราวทำให้เข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนี้จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วและมีโลหิตจางร่วมด้วย

 

เมื่อมะเร็งลุกลามขึ้น จะมีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกมากขึ้นและปวดท้องโดยทั่วอย่างไม่ชัดเจน การรับประทานยาลดกรดหรือยาลดการบีบรัดของกล้ามเนื้อไม่ได้ช่วยให้บรรเทาลง มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอาหารร่วมด้วย บางครั้งก็มีเลือดหรือบางสิ่งคล้ายผงกาแฟ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีไข้ต่ำๆ เมื่อแพทย์คลำท้องอาจพบก้อนเนื้อใต้ชายโครงซ้าย อุจจาระเป็นสีดำวาวคล้ายดินน้ำมัน ต่อมน้ำเหลืองโต ท้องผูกบ่อย บ้างก็สลับกับท้องเสีย

 

การวินิจฉัยมะเร็ง

1.การกลืนแป้งแบเรียมเอกซเรย์(Upper GI Series)เพื่อตรวจหาเนื้อร้ายและความผิดปกติอื่นๆในช่องท้อง

2.การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Endoscope) โดยส่องกล้องเข้าไปในทางปากและตัดชิ้นเนื้อเพื่อเอาเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารบริเวณที่สงสัยหลายๆชิ้นมาส่องดูด้วยกล้องจุลทัศน์ 

หากพบว่าเป็นมะเร็งก็รักษาด้วยการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกไป ซึ่งจะได้ผลดีกว่ากการรักษาด้วยเคมีบำบัด

อาการเตือนของมะเร็งกระเพาะอาหาร

1. ปวดท้องจนต้องตื่นนอนตอนกลางคืน

2.โลหิตจางและน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วใน1 เดือน

3.ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

4.กลืนลำบากและอาเจียนหลังรับประทานอาหาร

5.ตัวเหลืองตาเหลือง

6.ตับม้ามโต

7.มีก้อนในช่องท้อง

8.ท้องโตขึ้น

9.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย

 

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

1.ชอบรับประทานอาหารรสจัด

2.ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง

3.ไม่ชอบรับประทานผัก

4.ผู้ที่มีระบบขับถ่ายผิดปกติ

5.ผู้ชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ปลาร้าดิบ แหนมดิบ

 

การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2. รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ

3. เลี่ยงการสูบบุหรี่และน้ำอัดลม

4. ฝึกขับถ่ายให้เป็นปกตินิสัย

5.ตรวจสุขภาพประจำปี

 

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคที่น่ากลัวดังนั้นในการดูแลตนเองหรือผู้สูงอายุจึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ5 หมู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุควรลดอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและโรคอื่นๆตามมา