การเลือกวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ

 

ผู้สูงอายุมักจะมีความต้านทานโรคต่ำ เนื่องจากอายุที่มากขึ้น และสภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามวัย ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายว่าควรฉีดวัคซีนตัวไหนบ้างให้กับผู้สูงอายุ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้สูงอายุ เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษามาก เพราะถ้าผู้สูงอายุป่วย อาจติดเชื้อและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

 

เรามาดูกันว่าวัคซีนตัวไหนบ้างที่ควรฉีดให้กับผู้สูงอายุ

 

1.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ควรฉีดปีละ 1เข็ม  และช่วงที่จะฉีดควรเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนชนิดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันโรคในปีถัดไป

ผลข้างเคียงที่พบได้คือ ปวด บวมแดง บริเวณที่ฉีดไม่รุนแรงและจะหายไปภายในเวลา2-3 วัน

ข้อห้ามใช้คือ ผู้ที่กำลังมีไข้และผู้ที่แพ้ไข่ เนื่องจากต้องใช้ไข่ไก่ในการผลิตวัคซีน

 

2.วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อมิวโมคอคคัส

สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอีเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบและการติดเชื้อรุนแรง เช่นการติดเชื้ในกระแสโลหิต เยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยตัดม้าม ผู้ป่วยตับวายหรือไตวาย ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส แบ่ง เป็น 2ชนิด ได้แก่

1.วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV-13)

2.ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPV-23) 

โดยฉีดวัคซีนผู้สูงอายุเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง 1 เข็ม ครั้งเดียว

จะพบว่าการฉีดวัคซีนชนิดนี้ร่วมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ สามารถลดการเกิดปอดอักเสบและการติดเชื้อรุนแรง จากเชื้อก่อโรคที่มีสายพันธ์ุตรงกับในวัคซีนได้

ผลข้างเคียง ภายหลังฉีดวัคซีนพบได้ร้อยละ 30 เป็นอาการเฉพาะที่ เช่น เจ็บ บวม แดง ตรงตำแหน่งที่ ฉีดวัคซีน บางรายอาจมีอาการยกแขนไม่ขึ้นหรือมีไข้ ปวด ศีรษะซึ่งโดยทั่วไปมักไม่รุนแรง หายได้เองใน 2-7วัน

 

3.วัคซีนป้องกันงูสวัด

วัคซีนป้องกันงูสวัดเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

โดยฉีด เข้าใต้ผิวหนัง 1ครั้ง ปัจจุบันยังไม่มีความจำป็นในการฉีดเข็ม กระตุ้น สามารถให้ร่วมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ได้ในเวลาเดียวกัน

เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์จึงห้ามฉีดในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง เช่น กำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือย สเตียรอยด์ขนาดสูง ติด เชื้อเอช ไอ วี ที่มีค่า CD 4 ต่ำมาก

วัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้เฉลี่ย ร้อยละ 51ในผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนและสามารถลดการเกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทในกรณีที่ผู้รับวัคซีนป่วยเป็นงูสวัดได้ร้อยละ 66.5  วัคซีนฉีดได้ทั้งในผู้สูงอายุที่เคยเป็นและไม่เคยเป็นโรคงูสวัดหรือโรคสุกใสมาก่อน

ผลข้างเคียงจ ากการฉีด วัคซีนมักพบบริเวณที่ฉีด เช่น คัน แดง าจมีไข้ต่ำๆ ได้ มักหาย ายใน 2-3วัน

 

4.วัคซีนป้องกันบาดทะยักและคอตีบ

วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเป็นวัคซีนชนิด toxoid ซึ่งผลิตจากพิษ (toxin) แล้วทำให้หมดพิษ

ผู้สูงอายุ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก กระตุ้นทุก 10 ปี และฉีด 1 เข็ม หลังอายุ 60ปี

ผลข้างเคียง ปวดบวมบริเวณที่ฉีด  ในบางรายอาจจะมี ไข้ หนาวสั่น ผื่นแพ้ ได้

 

การดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุนอกจากการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการให้ผู้สูงอายุได้รับวัคซีนที่เหมาะสมก็มีความสำคัญด้วยเช่นกันเพราะสามารถเสริมภูมิต้านทานและป้องกันโรคที่จะเกิดกับผู้สูงอายุได้