รับมือโรคสมองเสื่อมป้องอัลไซเมอร์ก่อนวัย

 

 รับมือโรคสมองเสื่อมป้องอัลไซเมอร์ก่อนวัย

 

โรคหนึ่งที่มักมากับอายุที่เพิ่มขึ้น คือ โรคสมองเสื่อม

 

          พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายว่า จากการวิจัยพบว่าอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายไทยมีเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นจากร้อยละ 1 ในช่วงอายุ 60-64 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31 หรือเกือบ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 90 ปีขึ้นไป

 

พญ.ดาวชม พูแนะนำวิธีการรับมือโรคสมองเสื่อมว่า คือความเสื่อมของสมอง จนมีการทำงานเปลี่ยน แปลงไปจากปกติ โดยด้านใดด้านหนึ่งใน 4 หน้าที่ จำ คิด พูด ทำ ผิดปกติไป เช่น ความจำไม่ดี คิดไม่ต่อเนื่อง พูดซ้ำหรือเรียกชื่อไม่ถูก และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

 

โดยอาการ 'หลง' คือ ขาดสติ หรือ ขาดความรู้ตัวไปชั่วขณะ   จึงดูเหมือนความจำหายไป แต่สมองส่วนเก็บข้อมูลยังเป็นปกติ ส่วนอาการ 'ลืม'คือ สมองส่วนที่เก็บข้อมูลทำงานบกพร่อง ทำให้ลืมสิ่งที่เรียนรู้ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น รับประทานอาหารแล้ว แต่จำไม่ได้

 

"ความผิดปกติที่น่าห่วง คือ ในรายที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ผลของโรคสมองเสื่อมอาจจะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ขี้หงุดหงิด ก้าวร้าว เสียงดัง โวยวาย พฤติกรรมเปลี่ยนจากโรคทางด้านอารมณ์ที่แทรกซ้อน หรือเกิดจากสมองส่วนที่ควบคุมความคิด ความยับยั้งชั่งใจเสียไป"

 

การเกิดโรคสมองเสื่อมมีสาเหตุ 2 ประการ คือ สาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น การติดเชื้อโรคบางอย่างปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สมดุลและขาดวิตามิน หากรับการตรวจรักษาก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้

 

ส่วนอีกสาเหตุแก้ไขไม่ได้ เนื่องจากความเสื่อมตามวัย หรือสมองมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคืนกลับสภาพเดิม โรคที่พบบ่อย 2 อันดับแรก คือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง หรืออื่นๆ เช่น โรคสมองเสื่อมที่แทรกซ้อนจากโรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมจากสมองส่วนหน้าและสมองด้านข้างฝ่อ เป็นต้น

 

โดยหากตรวจพบเร็วและรีบรักษาก็จะช่วยชะลอความเสื่อมได้ โดยอาจใช้ยาช่วยชะลอ ที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เช่น ควบคุมอาหาร ให้ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันเป็นปกติ โดยเฉพาะรายที่เป็นโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง และการ กระตุ้นสมอง โดยใช้กิจกรรมบำบัด เช่น ฝึกความจำด้วยการเล่นเกมจับคู่ เป็นต้น

 

แนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อมไม่ให้เกิดก่อนวัยอันควรทำได้ดังนี้

 

1.อาหารกาย รับประทานน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 8 แก้วต่อวัน รับประทานอาหารครบ 5 หมู่

 

2.อาหารใจ ดูแลจิตใจให้มีความสุข ไม่เครียดเพราะทำให้มีการหลั่งสารเคมีที่ทำลายเนื้อสมองได้

 

3.ฝึกสติ คอยรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำอะไร ทำให้การเก็บข้อมูลที่จะนำไปสู่ความจำดีขึ้น เป็นการป้องกันภาวะหลงลืมได้

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด