ภาวะสมองเสื่อม

 

ภาวะสมองเสื่อม

 

สมองเสื่อม คือความถดถอยในกรทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการฝ่อ ล้มเหลว หรือสูญเนียเซลล์ประสาทกลุ่มใดกลุ่หนึ่ง แล้วลุกลามไปยังสมองส่วนอื่นๆ โดยความเสื่อมถอยจะดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งอาจกินเวลา 10-15 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดอาการ ซึ่งจำแนกจากตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ เช่น อัลไซเมอร์ เป็นความเสื่อมถอยของสมองส่วนกลีบข้าง (Hippocampus) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลต่างๆ และช่วยให้สมองนำข้อมูลต่างๆไปประมวลผลในกระบวนการคิดต่อไป

 

 ดังนั้นเมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ฝ่อลง หรือถูกทำลายไป ผู้ป่วยจึงสูญเสียความสามารถในการจดจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้น และไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ หรือการเสื่อมของเซลล์สมองส่วนหน้า (Fronto-temporal dernentia) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านพฤติกรรม และสูญเสียความสามารถทางภาษา เป็นสาเหตุของการพูดตะกุกตะกัก หรือใช้คำสื่อความหมายไม่ถูกต้อง เป็นต้น

 

ปัจจัยภายในคือตัวกำหนด

สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อมคือ อายุ และพันธุกรรม โดยมีค่าสถิติยืนยันได้ว่า ความหนาแน่นของผู้ป่วยจะผันแปรตามกลุ่มอายุที่มากขึ้น รวมถึงผู้ได้รับกรรมพันธุ์ภาวะสมองเสื่อมจากครอบครัว จะมีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น จะยิ่งสะสมความเสียงทบเท่า ทำให้คนรุ่นต่อๆ ไปมีโอกาสเป็นได้มากกว่าเดิม

ภาวะสมองเสื่อม ส่วนที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่พบนับว่ามีจำนวนน้อย เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Vascular dementia)ซึ่งมีสาเหตุจากความดัน ไขมัน หรือน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับในกลุ่มนี้ สามารถป้องกันโดยกาควบคุมอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาลและไขมัน กินยาสม่ำเสมอ ดูแลร่างกายไห้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย จะช่วยลดความเสี่ยงได้

 

 อาการและระยะอาการ

กลุ่มอาการรุนแรงน้อย เริ่มสูญเสียความจำระยะสั้นชัดเจน จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือการใช้ความคิดที่ซับซ้อน กลุ่มนี้ยังช่วยเหลือตัวเองได้มากสามารถรับผิดชอบชีวิตประจำวันง่ายๆ เช่น หุงหาอาหาร อาบน้ำ ซักผ้า หรือเดินทางคนเดียว

กลุ่มอาการรุนแรงปานกลาง ความผิดปกติเริ่มเห็นได้ชัดจากอาการสับสน สูญเสียความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย และจดจำทิศทาง จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลเวลาเดินทาง หรือช่วยในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบางอย่างที่มีขั้นตอนซับซัอน

กลุ่มอาการรุนแรงมาก สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวของระบบกล้ามเนื้อ เช่น เดินเองไม่ได้ทำให้ต้องพึ่งพาญาติ หรือคนดูแลในทุกกิจกรรม และ กิจวัตรประจำวันตลอดเวลา ตั้งแตกการแปรงฟัน อาบน้ำสวมเสื้อผ้า จนถึงรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกายจะน้องลงเรื่อยๆ จนในที่สุดทำได้แค่นอนนิ่งๆ

 

การรักษาดูแล

วิธีการรักษา หรือดูแลเน้นที่การประคับประคองให้ความสามารถทางสมองของผู้ป่วยยังดำเนินต่อไปได้โดยไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนแปลวการดำเนินโรค หลังจากนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องมีผู้ดูแล (Caregiver) ที่ให้ความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคคลในครอบครัยที่ต้องเข้าใจลักษณะอาการและสภาวะจิตใจของผู้ป่วย เพราะการดูแลประคับประคองที่มีประสิทธภาพ จะช่วยผู้ป่วยได้มาๆในด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สามารถตรังระดับอาการไว้ได้นานที่สุด

ภาวะสมองเสื่อม เป็นปัญหาสำคัญ จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือจากคนใกล้ชิด ในการดูแล และสร้างสภาพจิตใจที่มีให้แก่ผู้ป่วย เพื่อชะลอความเสื่อมถอยของสมองให้ดำเนินช้าที่สุด

 

การป้องกันตนเองให้พ้นจากความเสี่ยง เราสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น การเลือกรับประทานอาหาร งดเว้นการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดที่จะส่งผลต่อการทำลายสมองโดยตรง รวมถึงการพับผ่อน ออกกำลังการยที่เหมาะสม

 

เหล่านี้จะช่วยชะลอการเสื่อมถอยได้ ส่วนการตรวจคัดกรองสามารถช่วยได้ในเรื่องการติดตามระยะอาการในอนาคต ซึ่งผลการทดสอบที่ต่อเนื่องจะทำให้แพทย์กำหนดคาดเดาได้ว่า ผู้เข้ารับการตรวจมีแนวโน้มต่อการเกิดภาวะความจำเสื่อมได้มากน้อยอย่างไร หรือที่บริเวณใดของสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยพร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาที่จะเกินขึ้น ดำรงชีวิตปกติได้ยาวนาน และพยุงอาการให้ดำเนินช้าที่สุด ไม่เป็นภาระของคนรอบข้าง และยังรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง

 

 ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก